วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เริ่มต้น ไมโครคอลโทรเลอร์ กับ STM 32 Cortex M3 (ตอนต่อ)



จากครั้งที่แล้วที่ผมพูดนำไปแล้วเรามาเริ่มกันเลย ขอย้ำนะครับว่า ผมจะพูดถึงวิธีการตั้งค่าหากยังไม่เข้าใจสามารถหาดูได้ในหนังสือในจาก ทางบริษัท  INEX
เรามาลองกัน
เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม

ขั้นตอนที่สองเลือก File แล้วเลือก  New Project


โปรแกรมจะกำหนดเลือกเบอร์ ของ Microcontroller ละที่อยู่ไฟล์ Project


หลังจากเลือกเรียบร้อยแล้วและกำหนดที่อยู่สร้างโฟลเดอร์ ไฟล์โปรเจ็คใน ฮาร์ดดิตเรียบร้อยแล้ว ต้องนำไฟล์มาใส่ใน ไฟล์โปรเจ็คที่เราสร้างไว้จำนวนสามไฟล์ ได้แก่
1. stm32f10x_conf.h
2.stm32f10x_it.h
3.stm32f10x_vector.c


เมื่อทำการก้อฟไฟล์ทั้งสามลงในไฟล์โปรเจ็คแล้วให้ไปที่โปรแกรม Ride7 แล้วทำการเปิด File>Soure file แล้วทำการ Save as ไฟล์ Soure ใน โฟลเดอร์โปรเจ็คที่เรา วาง ไฟล์ ทั้งสามลงไปโดยใส่นามสกุล .C ทุกครั้ง





หลงัจากนั้น  add ไฟล์ทั้งตามรูป โดยคลิ้กขาวตามตำแหน่งในรูป 


แล้วเลือก ไฟล์ที่ปรากฎ จะมีสองตัว คือไฟล์ stm32f10x_vector.c และ Soure file ที่เราทำการ save แล้ว กด open


หลังจาก หลังจากนั้นเราจะได้ดังนี้ 


ทำการเขียนโปรแกรม ภาษา ซี ได้ 
ใน ตัว Ride7  นี้ ก่อนที่จะคอมไฟล์เราต้องตั้งค่า properties แล้วกำหนดค่า LD Liker


เลือก Startup  แล้วตั้งค่า Use Default Startup  ให้เป็น No ส่วยในรายการ Start File ให้ลบทิ้ง แล้วปล่อยวางไว้

อีกตัวคือ  Script กำหนด ค่า  Stater Kit Limitation  เป็น No ตามรูป


เหนื่อยกว่าที่คิดแหะ กว่าจะจบกระบวนการ ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นการเซ็ทค่า Ride7 ในการคอมไฟล์ บอล์ด stm32 ของ  Inex 
เสร็จสิ้นแล้วเราจะได้ เราสามารถพิมพ์ โปรแกรมได้เลย



อ้างอิ้งจาก 
หนังสือ ปฎิบัติการไมโครคอลโทรลเลอร์  ARM Cortec-M3 กับ STM32  โดยคุณ นคร ภัดีชาติ แลคุณ ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล



ปล. ฮาฮา สุดท้ายก็ยังไม่ได้ขึ้นการเขียนโปรแกรมอยู่ดี ยังไงมีเวลาจะนำเสนอนะครับขอติดไว้ก่อน งวดหน้ามาเจอกันกับ การเขียนโปรแกรม ซี ใน Ride7 มีอีกเรื่องที่โดนมากับตัวคือ โปรแกรม แอนตี้ไวรัส นะครับ มันอาจจะส่งผลให้คุณ Complie ไม่ผ่าน อันนี้โดนมากับตัว งมอยู่เป็นวันๆ 


วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้น ไมโครคอลโทรเลอร์ กับ STM 32 Cortex M3

สวัสดีครับหลังจากหายไปนานหลายเวลา วันนี้ได้ฤกษ์พิมพ์บทความแนะนำการเริ่มต้นการเรียนรู้ ไมโครคอลโทรเลอร์ STM32 นะครับ ซึ่งจากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้แนะนำโปรแกรม ภาษาซี เอาไปให้เพื่อนพี่ๆน้องๆ หลานๆ ได้เอาไปทดลองเขียนโปรแกรมใจจริงอยากจะเขียนเรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาซีแต่มันผิด แนวทางก็เลยแนะนำต่อจากบทควาที่แล้งลองหาหนังสือสอนเกี่ยวกับภาษาซี มาลองหัดเขียนและทำความเข้าใจโครงงสร้างจากโปรแกรม CODEBLOCK เอาเองนะครับเอา มาเข้าเรื่องไม่โครคอนโทรลเลอร์กัน ซึ่งผมเองก็พึ่งจะพึ่งศึกษา และทดลองบอล์ดตัวนี้ และน่าจะเป็นบล์อดตัวแรกที่ผมเริ่มต้นศึกษาโดยได้รับการแนะนำจาก พี่เปิ้ล ท้อป และ พี่ฝอย ที่ได้ศึกษาด้วยกันที่ มหาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนะครับ ในการเริ่มต้นทดลอง    บอล์ดตัวนี้นะครับ เป็นบอล์ดเรียนรู้ ของบริษัท INEX โดนใช้ ไมโครคอลโทรลเลอร์ของบริษัท ST STM32 เป็นไมโครคอลโทรลเลอร์  32 บิท (รู้เท่านี้จริงๆ)
JX-STM32_path

     ยังไงผมขออภัยท่านที่อยากจะรู้แบบเชิงลึกนะครับออกตัวไว้ก่อนเลยสิ่งที่ผมเขียนในบล๊อคนี้จะเขียนเท่าที่ผมรู้ซึ่งผมเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย เพียงแต่อยากทำเป็นขั้นตอนสำหรับคนที่พึ่งเริ่มต้นแบบผมเองซึ่งจากประสบการผมเองกว่าจะเข้าใจมันก็นั่งปวดก้นกันมาพอสมควรกว่าจะคล้ำมาถูกทางจนสามารถ คอมไพล์ได้ จึงต้องการใช้ภาษาง่ายในการเขียนและสื่อความเข้าใจในการเขียนโปรแกรม โดนโปรแกรมผมจะเอาเป็นแบบพื้นฐาน ง่ายๆ ในการขับ LED นะครับเอาละ โดยผมใช้ตัว คอมไพล์เลอร์ของ RID7 ในการเขียนโปรแกรม STM32 นะครับ
  เอาละหลังจาก มั่วแต่ไปงม เรื่องอื่นมาซักพัก ผมก็มาเขียนต่อ กันเลยนะครับ

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

บทนำ เริ่มต้นกับ Microcontroller

          สวัสดีครับ พอดีผมเองได้รับการแนะนำจากเพื่อน..ในการเขียน Blogger คิดอยุ่นานว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี..จนในที่สุด ก็นึกออกเพระาผมกำลังศึกษาไมโครคอลโทรลเลอร์ ก็เลยลองเขียนบทความนี้โดยผมเองจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจโปรแกรมภาษา ซี ที่ใช่ในการคอมไพล ไม่โครคอลโทลเลอร์นะครับ โปรแกรมที่ผมจะทำมาแสดงโครงสร้างภาษา ซี เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเขียน โปรแกรมคอมไพล์ ใน IDE ต่าง และแต่ละชนิดตระกูง บ้างคำสั่งจะไม่เหมือนกันแต่โดยทั่วไปใชพื้นฐานเดียวกันหมดนะครับ
           โดยโปรแกรมที่ผมจะใช่ในการเขียนนี้คือโปรแกรม Codeblock ที่ได้รับการแนะนำจากพี่ที่เคารพอย่างแรงกล้า
ผมขอแนะนำเวปของพี่เค้าไปเลยในตัวนะครับ เวปบล้อคhttp://www.123microcontroller.com/
เป็นความรุ้และรายละเอียดเกี่ยวกับไมโครคอลโทรเลอร์ ที่มากพอจะเข้าใจร่วมถึงความรู้ในส่วนต่างๆ

เอาละนอกเรื่องมานานแล้ว
เข้าเรื่องเลย ในส่วนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา ซี จัดเป็นภาษาระดับกลาง (middle-Language) ข้อดีของมันเลยที่ผมชอบก็คือ ภาษา ซี ที่ใช้บนเครื่องหนึ่งสามารถใช้บนเครื่องอื่นได้โดยไม่ต้องดัดแปลง อะไรมากนัก
เอาละ เดี๋ยวมาว่ากันต่อ